“นางตะเคียน”

เป็นผีที่มีมาแต่โบราณตามตำนานพื้นบ้านของไทย ผีตะเคียนเป็นผีผู้หญิงที่สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียน นางตะเคียนมักเป็นผีที่มีรูปร่างหน้าตาดี สวย งดงาม และผมยาว การแต่งกายของนางตะเคียนจะห่มสไบและใส่ผ้าถุง บริเวณป่าที่มีผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่ จะมีลักษณะสะอาดสะอ้านราวกับมีคนมาปัดกวาดเช็ดถูดูแลบ้านเรือนของตนเองบริเวณนั้นอยู่เสมอ ผีนางตะเคียนจึงมักจะเป็นผีจำพวกหวงที่อยู่ และจะดุร้ายมากหากมีใครคิดจะรุกรานที่อยู่ของตน เนื่องจากต้นตะเคียนมักมีผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่ การจะตัดเอาต้นตะเคียนมาทำเป็นเรือในสมัยก่อน หรือนำเอาไม้ตะเคียนมาสร้างบ้าน จึงจำเป็นจะต้องมีการทำพิธีบวงสรวง เพื่อขออนุญาตจากนางตะเคียนก่อน ทั้งนี้ เมื่อต้นตะเคียนเหล่านั้นถูกนำมาแปรสภาพเป็นเรือ ยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆแล้ว ผีนางตะเคียนที่เคยสิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียนต้นนั้น ก็จะเปลี่ยนมาสิงสถิตอยู่ในสถานะใหม่ตามไปด้วย

“ช้างสามเศียร”

ส่วนตำนานที่เกี่ยวกับช้างเอราวัณนั้นก็มีกล่าวไว้อยู่หลายสำนวน หลายคัมภีร์ บางตำนานก็ว่า พระอิศวรได้ประทานช้างเอราวัณให้เป็นช้างทรงของพระอินทร์ บ้างก็ว่าช้างเอราวัณนั้นเป็นเทพบุตร อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อพระอินทร์จะเสด็จไปที่ใด เทพบุตรเอราวัณจะแปลงกายเป็นช้างเผือกสีขาว ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวกายเผือกผ่อง เป็นช้างที่มีพลังมาก ถือเป็นเจ้าแห่งช้างทั้งหลาย ในคัมภีร์มหาภารตะ กล่าวว่า “ช้างไอราวตะมีงา ๔ งา มี ๓ งวง รูปร่างใหญ่มหึมา และเป็นช้างเผือก เล่ากันว่า มักให้โชคลาภแก่ผู้ที่มีจิตศรัทธา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้โชค โดยขออะไรก็มักจะสมปรารถนาการกราบไหว้ช้างสามเศียร การไหว้พ่อช้างเอราวัณจะมีหลายแบบ 1.ไหว้ทั่วไป จะใช้พวงมาลัยดาวเรือง 3 พวง แผ่นทองเปลวปิดที่องค์จำลอง 3 แผ่น จุดธูปบูชา 9 ดอก 2.ไหว้ขอพรจะใช้พวงมาลัยดาวเรือง 9 พวง แผ่นทองเปลวปิดที่องค์จำลอง 3 แผ่น จุดธูปบูชา 9 ดอก ราคา 3.สักการะด้วยการบนบานศาลกล่าวหรือแก้บน ใช้พวงมาลัยดาวเรือง 27 พวง แผ่นทองคำเปลว 9 แผ่น จุดธูปบูชา 36 […]

“ไอ้ไข่”

ตำนานไอ้ไข่ วัดเจดีย์   บ้างก็ว่า เป็นลูกศิษย์หรืออาจจะเป็นวิญญาณเด็กที่ติดตาม “หลวงปู่ทวด” หรือที่ชาวไทยจะคุ้นเคยกับชื่อ “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ที่โด่งดังในจังหวัดสงขลา ซึ่งได้ติดสอยห้อยตามมายังนครศรีธรรมราชแล้วเกิดล้มป่วย จึงได้ฝากศิษย์คนนี้ไว้กับ “ขรัวทอง” ให้ดูแลวัดแห่งนี้เพราะญาณทิพย์ได้บอกกับท่านว่า ที่นี่เป็นศาสนสถานที่เก็บสมบัติที่จะมีความรุ่งเรืองสืบไปในอนาคต               อีกตำนานหนึ่งก็บอกว่า เป็นลูกชาวบ้านหรืออาจจะเป็นเด็กวัดที่อาศัยอยู่แถววัดเจดีย์ วันหนึ่งเกิดพลัดตกจมน้ำเสียชีวิต แล้วด้วยจิตที่ผูกพันกับวัด จึงยังคงอยู่เฝ้าที่แห่งนี้มาโดยตลอดไม่ว่าตำนานจะเป็นอย่างไร สิ่งที่น่าสงสัยลำดับถัดมาก็คือ ที่มาของชื่อไอ้ไข่ทำไมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ได้ชื่อว่า กุมารเทพ ถึงถูกเรียกว่า “ไอ้” ที่ดูจะเป็นคำที่ไม่สุภาพนัก คำตอบนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปีพุทธศักราช 2523 ถึง 2526 ครับ เมื่อ “ผู้ใหญ่เที่ยง เมืองอินทร์” หรือ “อาจารย์เที่ยง หักเหล็ก”                  จอมขมังเวทย์ในสมัยนั้น เกิดนิมิตเห็นเด็กชายร่างเปลือยเปล่ามาบอกว่า “ขอให้แกะสลักรูปเราที เราจะได้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง” อาจารย์เที่ยงยังได้ถามชื่อเสียงเรียงนามของเด็กคนนั้นมาด้วย ได้ความว่า “เราไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” […]

“กุมารทอง”

เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ โดยกุมารทองจะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า “โหงพราย” โดยแรกเริ่มกุมารทองมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่หรือที่เรียกว่า ตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก แต่ปัจจุบันจึงได้มีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น โดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนหรือไม้มะยมบ้าง ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมาร แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา ลักษณะของกุมารทองเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวง หากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองก็จะช่วย ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย การบูชากุมารทอง ซึ่งของที่มักจะถวายให้กุมารทอง ได้แก่ น้ำแดง น้ำผลไม้ กล้วยน้ำว้า ผลไม้ที่มีรสหวานน่ารับประทาน และ ขนมหวานโบราณ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด  คาถาปลุกเรียกกุมารทอง (นะโม 3 จบ) กุมารัง นะกุมารัง อุติอุนิ นะอิงอิตอพุทโธฯ

“นางกวัก”

นางกวัก เป็น1ใน3ของเทพีแห่งโชคลาภของไทย ประกอบด้วยแม่นางกวัก พระแม่ธรณี พระแม่โพสพ เรียกได้ว่าเป็นไตรภาคีสตรีแห่งความโชคลาภ เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าแม่ขายชาวไทยของเรา เพราะถือว่าเทพีองค์นี้จะเรียกลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าในร้าน โดยมีเรื่องราวตามตำนานว่า เดิมที่นางกวักมีชื่อจริงว่าสุภาวดี เป็นบุตรสาวของ นายสุจิตตพราหมณ์ และนางสุมณฑา ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ครั้งหนึ่งครอบครัวนี้ได้ออกเดินทางไปขายของในต่างถิ่น โดยสุภาวดีขอติดเกวียนไปด้วยและมีโอกาสได้พบ พระกัสสปเถระ ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่ หลังจากพระกัสสปเถระได้แสดงธรรมเทศนาจบ ท่านได้ให้พรแก่ครอบครัวของนาง  ต่อมานางสุภาวดีได้พบ พระสิวลีเถระเจ้า กำลังแสดงธรรม สุภาวดีได้ฟังธรรมอย่างตั้งใจจนแตกฉาน หลังจากพระสิวลีเถระเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาจบท่านได้ให้พรแก่สุภาวดีและครอบครัวเช่นเดียวกัน หลังจากสุภาวดีและครอบครัวได้รับพรจากพระอรหันต์ถึงสององค์ โดยอำนวยพรว่า”ขอให้เจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง จากการค้าขายสินค้าต่างๆสมความปรารถนาเถิด” เมื่อนางสุภาวดีติดเกวียนไปค้าขายที่เมืองใดก็จะทำให้ค้าขายคล่องขึ้น ครั้งไหนที่นางสุภาวดีไม่ได้ออกเดินทางไปด้วย พ่อแม่ของนางก็เห็นได้เลยว่าขายของไม่ดีเท่าลูกสาวมาด้วย ครั้งต่อมาครอบครัวจึงบอกให้นางนั่งติดเกวียนมาด้วยทุกครั้ง เมื่อค้าขายไปเรื่อยทำให้ครอบครัวร่ำรวยมหาศาล ทำให้มีผู้นับถือเลื่อมใสและสร้างรูปปั้นไว้บูชาเพื่อทำมาค้าขาย   ลักษณะนางกวัก เป็นหญิงสวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอย่างธรรมเนียมไทย นั่งพับเพียบ มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหาเป็นการกวักมือเรียกทรัพย์ คำบูชานางกวัก  โอมปู่เจ้าเขาเขียวมีลูกสาวคนเดียว ชื่อว่าแม่นางกวัก หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายรัก อยู่ทุกถ้วนหน้า เอหิมามะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ จะค้าขายก็ขอให้เป็นเศรษฐี หนึ่งปีให้เป็นพ่อค้าสำเภาทอง จะค้าเงินขอให้เงินเข้ามากอง จะค้าทองขอให้ไหลมาเทมาเต็มบ้านเต็มเรือน จะค้าขายสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ซื้อง่ายขายคล่อง ขอให้ซื้อง่ายขายดี ขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี

“เทพทันใจ”

เทพทันใจเป็นเทพที่รักษาองค์พระบรมเกศาธาตุที่เจดีย์ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ณ ประเทศพม่าตำนานได้กล่าวไว้ว่า ตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้มีชาวรามัญ 8 ท่านได้เดินทางไปนมัสการพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานเส้นพระเกศา 8 เส้นให้กับชาวรามัญ ชาวรามัญจึงอัญเชิญพระเกศากลับมาที่เมืองหงสาวดี เหตุเช่นนี้เองจึงได้มีการสร้างเจดีย์ชเวดากองขึ้นเพื่อเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ้งตามตำนานได้เล่าต่อว่าก่อนที่ชาวรามันทั้ง 8 จะเข้าไปนมัสการพระพุทธเจ้านั้น ได้มีเทวดาองค์หนึ่งซึ่งเคยเกิดเป็นญาติของชาวรามัญกลุ่มนี้ ได้ชี้นิ้วไปยังทิศที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ซึ่งจุดนี้จึงเป็นตำนานในการสร้างเทวรูปเป็น “เทพทันใจ” ยื่นชี้นิ้ว ไปทางพระบรมสารีริกธาตุ ในเจดีย์ชเวดากองนั่นเอง “เทพทันใจ” จัดได้ว่าที่พึ่งทางใจของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ นักการเมือง ดารา ศิลปิน นักร้องหรือคนทั่วไปนับถือกันเป็นจำนวนมาก หรือแม้กระทั้งพ่อค้าแม่ขายจะนิยมกันมาก เพราะเชื่อกันว่าเมื่อได้ขอพรเกี่ยวกับธุรกิจก็ได้สมหวังรวดเร็วทันใจทุกที ชื่อว่า เทพทันใจ จึงเป็นคำที่ติดปาก การสักการะบูชาเทพทันใจ ดอกไม้ และผลไม้ นิยมใช้กล้วย และมะพร้าว เพราะเชื่อว่าเป็นผลไม้มงคล เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง คาถาบูชาเทพทันใจ ตั้งนะโม 3 จบ โอม สิทธิการิยะ ข้าแต่ท้าวเทพทันใจ โสโสมะมา จิตตะภะวัง มหาลาภัง อิติพุทธัสสะ สุวรรณนังวา ราชาตังวา มณีวา ธะนังวา […]

“ศาลตายาย”

 ศาลตายาย ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อของคนไทยจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก โดยศาลตายายหรือที่เรียกกันว่า “เจ้าที่” คือการไหว้เพื่อให้วิญญาณเจ้าของที่ดินที่ล่วงลับไปแล้วแต่ยังคงสถิตอยู่ ณ สถานที่นั้น ให้ท่านได้ช่วยปกปักรักษาผู้ที่อาศัยให้ปลอดภัยจากภยันตราย  ศาลตายายมักนิยมตั้งไว้ตามที่อยู่อาศัยหรือเรือกสวนไร่นาต่าง ๆ เพื่อให้ท่านได้ดูแลบ้านช่องและที่ทางทำกินของเรา ช่วยขจัดปัดเป่ามิให้มีสิ่งชั่วร้ายเข้ามา สำหรับท่านที่ต้องการจะทราบถึงขั้นตอนการตั้งศาล วิธีการไหว้แบบต่าง ๆ ตลอดจนการเสริมดวง ตามหลักความเชื่อนั้นการตั้งศาลตายาย คือการอัญเชิญดวงวิญญาณที่เป็นเจ้าของที่ดินเก่า ที่ท่านได้ทำการปลูกที่อยู่อาศัย หรือทำประโยชน์บนที่ดินผืนนั้นเมื่อครั้งอดีต ให้ขึ้นมาสถิตบนศาล เพื่อช่วยคุ้มครองดูแลเจ้าของบ้านในปัจจุบันและครอบครัวให้ปลอดภัยแต่ก่อนที่จะตั้งศาลนั้นๆ

“พระราหู”

ตามนิทานพื้นบ้าน ในอดีตชาติ พระราหูได้เกิดมาเป็นน้องร่วมท้องเดียวกันกับเทวดานพเคราะห์อีกสององค์ คือ พระอาทิตย์และพระจันทร์ โดยพระราหูเกิดเป็นน้องสุดท้อง ครั้งหนึ่ง พระราหูได้ร่วมทำบุญถวายพระที่มารับบิณฑบาตร่วมกับพี่ทั้งสองคน พระอาทิตย์ตักบาตรในครั้งนั้นด้วยภาชนะทอง พระจันทร์ตักบาตรด้วยภาชนะเงิน ส่วนพระราหูตักบาตรด้วยภาชนะที่ทำมาจากกะลามะพร้าว เมื่อทั้ง ๓ พี่น้องได้มาเกิดเป็นเทวดานพเคราะห์ พระอาทิตย์จึงมีรัศมีและวรรณะเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระจันทร์มีรัศมีและวรรณะเป็นสีขาวสว่างดุจเงิน และพระราหูมีรัศมีและวรรณะเป็นสีนิลออกไปทางทองสัมฤทธิ์ (แต่ในบางตำราก็ว่ากายของพระราหูนั้นมีสีดำบ้าง สีเขียวบ้าง สีทองบ้าง แตกต่างกันไป) พระราหูเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางลุ่มหลงมัวเมา ฝักใฝ่ในทางด้านมืด พระราหูเป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับพระพุธอันมีเหตุตามนิทานชาติเวร เล่าว่า พระราหูเกิดเป็นคฤหบดี พระเสาร์เกิดเป็นพ่อค้า พระจันทร์เกิดเป็นคนจนผู้ยากไร้ พระพุธเกิดเป็นสุนัขในบ้านคฤหบดี คนจนได้ไปยืมเงินของคฤหบดี แต่ไม่มีเงินใช้หนี้จึงต้องหนีไป  วันหนึ่งพ่อค้าผู้เป็นเพื่อนของคฤหบดี ได้มาพบคนจนเข้าจึงนำเรื่องไปแจ้งกับคฤหบดี สุนัขที่เฝ้าบ้านได้ฟังแล้วเกิดสงสารคนจนจึงเข้าขบกัดคฤหบดีจนไม่สามารถไปตามจับคนจนได้ ตั้งแต่นั้น พระราหูจึงเป็นมิตรกับพระเสาร์ ส่วนพระพุธเป็นศัตรูกับพระราหูและพระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ จากตำนานนี้ผู้ใดที่เกิดวันพุธกลางคืนแล้วพระเสาร์โคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะมีมิตรสหายเกื้อหนุน ได้ลาภยศทรัพย์สินเงินทอง ได้ยศศักดิ์แลเชื่อเสียง หากพระพุธโคจรเข้าสู่ดวงชะตา จะถูกลอบทำร้าย มีเหตุให้เสียทรัพย์ ลักษณะของพระราหู ในคติไทย เป็นเทพอสูรมีกายสีนิลออกไปทางทองสัมฤทธิ์ มีกายครึ่งท่อน บ้างก็เต็มองค์ บ้างก็เป็นครึ่งอสูรครึ่งนาค ปากขบ ตาโพลง มี ๒ กร ทรงกระบองเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีทองและสีม่วง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำ ทองสัมฤทธิ์ และแก้วนิลรัตน์ ทรงครุฑเป็นพาหนะ

“พญานาค”

ในความเชื่อของวัฒนธรรมไทย มีการนับถือนาคในลักษณะเป็นเทพแห่งน้ำ และมีความเชื่อว่าในแม่น้ำโขงนั้นมีนาคอาศัยอยู่ ตามตำนาน สัตว์จำพวกงู, แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก มีพิษจากพิษที่นาคได้คายทิ้งไว้นอกจากนี้ในความเชื่อของไทยได้แบ่งนาคออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ 1  ตระกูลวิรูปักษ์ เป็นพญานาคตระกูลสีทอง,       2 ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว, 3 ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง, 4 ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ และเชื่อว่านาคสามารถเกิดได้สี่รูปแบบ        1 โอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที,        2 สังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม,         3 ชลาพุชะ เกิดจากครรภ์         4 อัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำนานว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี […]

“พญาเต่างอย”

ตำนานพญาเต่างอย  เมื่อ 400 ปี ไทยได้ทำสงครามกับลาวและลาวพ่ายแพ้ จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทยเมื่อมาถึงบริเวณที่ลำน้ำพุง ลำน้ำใหญ่และมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณฝั่งแม่น้ำพุง ผู้คนสมัยนั้นได้เห็นว่า มีความอุดมสมบูรณ์มากและเหมาะสมจึงได้ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยจึงตั้งชื่อบ้านว่า”บ้านเต่างอย”ตามสถานที่พบเห็นฝูงเต่าที่ลอยริมฝั่งแม่น้ำ เชื่อว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น สัญลักษณ์ของอำเภอนี้จึงเป็นเต่า และได้ตั้งชื่ออำเภอว่า อำเภอเต่างอย มาจนถึงทุกวันนี้ ลักษณะสำคัญของพญาเต่างอยคือเป็นเต่าขนาดใหญ่ เกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีรูปพระเกจิอาจารย์ประดับตกแต่ง บนหลังพญาเต่างอยประดับดอกบัวปั้นในดอกบัวมีสร้อยทอง พระ ของขลังต่างๆ บรรจุไว้พร้อมฉาบปิดแน่นหนา โดยผู้ที่ใส่เครื่องรางของขลังเหล่านั้นเชื่อว่าจะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยและเชื่อว่าหากใครได้มาสักการะบูชา จะทำให้อายุยืนยาวมีโชคมีลาภกลับบ้านไปทุกคน ดังนั้นจึงมีผู้เดินทางมากราบไหว้และขอโชคขอลาภกับพญาเต่างอยไม่เว้นวัน และหลายๆ คนก็ได้โชคได้ลาภกลับไปจริงๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ต้องใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลแต่หากใครอยากจะลองไปขอพรขอโชคขอลาภจากพญาเต่างอยดูก็ไม่เสียหาย หรือใครอยากจะไปชมสถาปัตยกรรมอันงดงามของรูปปั้นพญาเต่างอยก็สามารถไปเที่ยวชมได้เช่นกัน